Monday, February 23, 2015

แขวนพระตามโฉลก ด้วยพระเครื่อง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

สำหรับที่ผมแขวนประจำตัวนะครับ แบบ 5 องค์
องค์ประธาน พระสมเด็จหลังยันต์ห้า ฝังเหล็กไหล

ขออนุญาตแชร์ ข้อมูลที่ รวบรวมโดย...เทพอินทรา

             พระสมเด็จเนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์หลังยันต์ห้า ฝังเหล็กไหล
เป็นพระสมเด็จที่หายากที่สุด และมีราคาแพงที่สุดของหลวงปู่หมุน
หลวงปู่สร้างและปลุกเสกเองเต็มตลอดไตรมาส
ที่วัดป่าหนองหล่ม เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2542
จำนวนสร้างน้อย มอบให้กับลูกศิษย์ลูกหาและ
ญาติโยมที่ใกล้ชิดกับวัดป่าหนองหล่ม เท่านั้น

             ในครั้งนั้น ทางวัดมิได้สั่งทำกล่องสำหรับใส่พระชุดนี้โดยเฉพาะ
เมื่อกดพิมพ์ ตากแห้งแล้วก็นำมาใส่พานรวมกันบ้าง
นำมาใส่รวมกันไว้ในถุงพลาสติคบ้าง ก่อนนำมอบให้
กับลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา

             พระส่วนใหญ่เกือบทุกองค์จะถูกเก็บไว้ในลักษณะทับซ้อน
ผิวพระถูกสัมผัสเสียดสีกัน ระยะเวลาที่ผ่านมา 15 ปี (ปัจจุบัน 2557)
ปัจจุบันจึงแทบจะหาพระที่มีสภาพสวยสมบูรณ์เต็มร้อยไม่ได้เลย
ส่วนใหญ่จะบิ่น หัก กระเทาะ แตกร้าว หรือมีริ้วรอยขูดขีดทั้งสิ้น
องค์นี้มีความสวยที่สุดตั้งแต่เคยพบเจอ สภาพสมบูรณ์ 99.999%

           ราวต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ปีที่แล้ว มีการค้นพบและเผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
พระสมเด็จหลังยันต์ห้า อันเป็น พระสมเด็จรุ่นแรก ของวัดป่าหนองหล่ม
ที่นอกจากหลวงปู่หมุน จะได้บรรจงสร้างขึ้นด้วยส่วนผสมของชนวนมวลสาร
อันวิเศษศักดิ์สิทธิ์ ทรงคุณค่า ของหลวงปู่หมุน นานาชนิดอย่างมากมายแล้ว
ยังบรรจุ ชนวนแร่เหล็กไหล ซึ่งถือเป็นของวิเศษสูงสุดเข้าไปด้วย

            เพราะปัจจุบันศิษย์ทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า พระสมเด็จหลังยันต์ห้า ฝังเหล็กไหล
เป็นพระลำดับขั้นสูงสุดแห่งพระเนื้อผง ของ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
ที่เปี่ยมด้วยพลังพุทธคุณ สวยสดงดงาม และหายากยิ่ง

เป็นที่สุดแห่งยอดปรารถนาของบรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่หมุนทุกคน

           *** ผมในฐานะเจ้าของพระองค์นี้ และเป็นพระที่ผมแขวนประจำตัว
อยากแชร์ประสบการณ์ ครับ
"พระของหลวงปู่หมุนทุกองค์ แขวนแล้ว แรงจนรู้สึกได้"
ความสุข ที่สัมผัสได้ ปิติ อิ่มเอม ปลื้ม เย็นสบาย มีครบ
ยิ่งแขวน สมเด็จหลังยันต์ห้า หลวงปู่หมุน ขอบอกว่า แรงได้อีก

องค์ล่างขวา เหรียญ นารายณ์ทรงครุฑ


                เหรียญอาร์ม พระนารายณ์ทรงครุฑ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล รุ่น เจริญลาภ เนื้อทองแดง ปี ๒๕๔๓
***** เหรียญหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อายุ 105 ปี วัดบ้านจาน จ. ศรีสะเกษ ด้านหลังนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์มาก แม้ระเบิดยังด้าน พุทธคุณมาก เป็นมหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุด และคงกระพันชาตรี

***** วัตถุประสงค์ ในการจัดสร้างเหรียญนี้ขึ้น เพื่อแจก แก่เหล่าทหาร-ตำรวจ ข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน และแจกจ่ายแก่ผู้ที่ศรัทธาหลวงปู่หมุนทุกคนที่มากราบหลวงปู่หมุน.....ตอนที่ขอสร้างเหรียญนี้ขึ้นมา ผู้จัดสร้างได้เข้าไปกราบเรียนหลวงปู่หมุน เพื่อบอกกล่าววัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเหรียญนี้ขึ้นมา เมื่อหลวงปู่หมุนรับทราบวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้วนั้น หลวงปู่หมุนจึงอนุญาติแก่ผู้จัดสร้างให้สร้างขึ้นได้ เนื่องด้วยเห็นความลำบาก ภัยอันตรายจะมีแก่เหล่าทหาร-ตำรวจ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานเสี่ยงภัยนั้น เพื่อรักษาความสงบสุขให้แก่ประเทศชาติ หลวงปู่ไม่อยากที่จะเห็นใครเป็นอะไร อยากช่วยให้ได้มากที่สุดถ้ากรรมในอดีตชาติของบุคคลนั้นๆไม่เกินมากไป หลวงปู่จะช่วยทุกคน และเนื่องด้วยเป็นการสร้างที่บริสุทธิ์ สร้างเพื่อแจก หลวงปู่จึงเห็นดีด้วย จึงอนุญาติให้จัดสร้างขึ้นได้

***** หลวงปู่หมุนปลุกเสกเหรียญนี้อย่างเต็มที่และตั้งใจมากเชิญครูบาอาจารย์มาร่วมเสกมากมาย หลวงปู่มีวิชาอะไรเสกใส่ให้หมด

***** เหรียญรุ่นนี้แหละครับ ที่ทำให้หลายๆคนรู้จักหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์เกิดขึ้นมากที่สุด

***** เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่มีพลังพุทธคุณคล้ายพลังในตัวเหล็กไหลชั้นยอด เสกด้วยการกำหนดจิตแบบการตั้งธาตุ หนุนธาตุ ทำให้มีพลังงานสะสมจนสุดพิสดาร พิสดารจนไร้ผู้เทียมทาน

***** เหรียญนาราย์ทรงครุฑ ลป.หมุน หมายถึง อำนาจและการอยู่เหนือผู้อื่นในงานราชการ เป็นอิทธิฤทธิ์ที่เด่นมากด้านนี้ของเหรียญนี้

องค์ล่างซ้าย พระผง ดวงเศรษฐี


พระผงดวงเศรษฐี รุ่นเสาร์๕ ปี2543

ประวัติการสร้าง (โดย ชมรม-มหาอุตม์)

ในสูจิบัตร ยอดสร้าง ลงไว้ 9,000 องค์ (มีกล่องใส่) แต่พระอาจารย์จ่อย เจ้าอาวาสวัดป่าหนองหล่มในขณะนั้น ได้ตัดสินใจในช่วงสุดท้ายให้ ทำเพิ่มเป็น 20,000องค์ (ไม่มีกล่อง) สร้างเยอะราคาจะได้ไม่แพง เพื่อชาวบ้านยุคต่อมา จะได้จับต้องได้ ไม่ได้อยู่ในมือนักสะสมพระเครื่อง แต่เพียงฝ่ายเดียว

แต่เนื่องจากจำนวนสร้างเยอะ พระก็คงเหลือค้างที่วัดจำนวนมาก(แบบไม่มีกล่อง) และได้หมดไปในปี2553 (หลวงปู่เริ่มดัง) บางคนเข้าใจผิด คิดว่าทางวัดป่าฯ ทำซ้ำทำเสริม ผ่านมา 10ปี ยังมีพระเครื่องเหลืออยู่ที่วัดอีกหรือ? แต่ความจริงเป็นพระแท้ ที่เหลือค้างในวัด เพราะสร้างเยอะ

ซึ่งในปีใน2554 ทางเจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน พระอาจารย์ขวัญเมือง ได้ทำหนังสือชี้แจงออกมาว่า "ทางวัดไม่มีนโยบายทำพระเสริมทำซ้ำทำใหม่ โดยเด็ดขาด ถ้าพบของเลียนแบบ
ก็เป็นทางทำ จากภายนอกวัด ไม่เกี่ยวข้องกับทางวัดแต่อย่างใด"

พระรุ่นนี้เสกนาน 5 พิธี สีของเนื้อพระจะต่างกันบ้าง เพราะพระบางองค์จะโดนน้ำมนต์ (ส่วนบนๆกล่องบรรจุ) ของพระเจ้าพิธีที่พรมใส่ จากพิธีพุทธาภิเษกดังกล่าวนี้


           องค์บนขวา พระปิดตาหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู โค๊ตดอกบัว No.2082 ปี 43



พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน รุ่นเสาร์ ๕ บูชาครู

ประวัติการสร้าง (โดย ชมรม-มหาอุตม์)

จำนวนสร้าง 2,099 องค์
มี 2 พิมพ์ โค๊ดดอกบัว และ โค๊ดตัวหนังสือ ปู่หมุน

ทางวัดออกให้เช่าบูชา 2,000 องค์ และแจกกรรมการ, พระเกจิที่มาร่วมพิธีเสก 99องค์
รุ่นนี้ออกวัดสุทัศน์ แต่ในหนังสือบางเล่ม ลงว่าของวัดป่าหล่ม ลงข้อมูลผิดนิดหน่อยเป็น 1,999องค์ (เพราะดูยอดจากใบจอง)

ยืนยันยอดสร้างจริง 2,099 องค์ อยู่สายนี้มาหลายปี ยังไม่เคยเห็นเลขในหลัก 3,xxx

ปิดตารุ่นนี้ บางองค์ตอกโค๊ดหนังสือ "ปู่หมุน" ที่พบเห็นน้อยกว่าโค๊ดดอกบัว
ซึ่งทั้งคู่เป็นโค๊ดในรุ่น เสาร์๕บูชาครู ปี43 โค๊ดหนังสือ "ปู่หมุน" เป็นพระแท้ แต่บางคนตีเป็นพระเก๊

องค์บนซ้าย พระปิดตา รุ่น รวยทันใจ เนื้อชานหมาก องค์นี้เป็น แบบที่ 3.2 


ขออนุญาตแชร์ ข้อมูลที่ รวบรวมโดย...เทพอินทรา

    ข้อมูลรายละเอียดพระผงปิดตารวยทันใจ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล (ฉบับล่าสุด 28 ก.พ.2554)
              
            พระผงปิดตารุ่นไตรมาสรวยทันใจ มีพิมพ์เดียว (ขนาดกว้าง 2 ซ.ม.สูง 2.5 ซ.ม.) พิมพ์ทรง สง่างาม เข้มขลัง รายละเอียดอ่อนช้อยงดงามคลาสสิค ขนาดกำลังสวยพอเหมาะสำหรับเลี่ยมขึ้นคอบูชา
ทั่วไป ทั้งบุรุษและสตรี มีหลายเนื้อหลายโทนสี ขึ้นอยู่กับชนวนมวลสารที่ใช้ผสมสร้าง ซึ่งขึ้นกับรสนิยม
ความต้องการของผู้เช่าบูชา มีทั้งไม่ตอกโค้ด , ตอก 1 โค้ด , ตอก 2 โค้ด , ตอกหมายเลขและไม่มี
หมายเลขกำกับ 
            เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แบ่งแยกมวลสารของพระแต่ละประเภท ผมได้พยายามรวบรวมข้อมูลเท่าที่หาได้มาบันทึกไว้ในกระทู้นี้ ซึ่งอาจจะยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ 100% นัก แต่อย่างน้อยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกที่นิยมพระรุ่นนี้ได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเช่าหา ได้ง่ายขึ้นครับ
             โดยผมจะไล่ลำดับจากองค์ที่มีจำนวนสร้างน้อยไปหามาก รวมทั้งหมด 16 แบบ และแบบพิเศษเนื้อนำฤกษ์ ดังต่อไปนี้ครับ

แบบที่ 1. เนื้อผงงาช้างดำผสมทรายดำลังกาวี เนื้อจะสีดำเข้มทั้งองค์ หายากสร้างน้อยที่สุด จำนวน
                หลักสิบองค์ (ตอก 1 โค้ด) แบ่งได้ 3 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1.1 ฝังพลอยเสกเม็ดใหญ่ที่ฝ่ามือและหัวไหล่ทั้งสอง ในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่
                 ครบ 3 เม็ดและไม่ได้ฝังพลอยในจุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้น
แบบที่ 1.2 ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ แต่จะเห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ
แบบที่ 1.3 ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ และไม่เห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ

แบบที่ 2. เนื้อฟอสซิลคลุกรัก สร้างจากฟอสซิลของสัตว์ใหญ่อายุนับหมื่นปีนานาชนิดคลุกรัก 
                (ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้าง 60 องค์

แบบที่ 3. เนื้อชานหมาก สีน้ำตาลเข้ม (ไม่ตอกโค้ด) ขนาดพระจะย่อมกว่าเนื้ออื่นเล็กน้อยเนื่องจากการ 
                หดตัวของเนื้อพระมีมากกว่าพระเนื้ออื่น นอกจากจะมีชานหมากของหลวงปู่เป็นมวลสารหลัก 
                แล้วยังมีส่วนผสมชนวนมวลสารอื่นๆอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่อีกหลายอย่าง ได้แก่ จีวร เศษ
                หมวกไหมพรม เศษไม้เท้า เส้นเกศา ผงพุทธคุณ ผงยาและว่านมงคล108 อีกด้วย เนื้อพระจะ
                แห้งได้อายุและมีกลิ่นหอม เนื้อพระรักษายาก เป็นที่ต้องการกัดเจาะของมดและแมลง จำนวน
                สร้างน้อยหลักสิบองค์ 

แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 3.1 ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ (ต้องฝังใหม่เท่านั้น ไม่ใช่สอดใส่ ตะกรุดลงไปในรูไม้เสียบ)
แบบที่ 3.2 ไม่ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ
แบบที่ 3.3 เคลือบแลคเกอร์เพื่อรักษาผิวพระ

แบบที่ 4. เนื้อว่าน สีน้ำตาลอ่อนกว่าสีของเนื้อชานหมาก ผิวจะละเอียดและมีน้ำหนัก มากกว่าเนื้อชาน
                หมากเล็กน้อย และเนื้อจะหนึกนุ่มกว่า (ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์ 

แบบที่ 5. เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน ฝังเนื้อชนวนพระแก้ว สีเทา (2 โค้ด)                 กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์ 

แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 5.1 ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวที่ท้ององค์พระ
แบบที่ 5.2 ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังกระจายเป็น 2-3 จุดหน้าองค์พระ

แบบที่ 6. เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน ฝังเม็ดชนวนพระแก้ว เป็นลักษณะ
                เม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้า และตลอดแนวยันต์ด้านหลังองค์พระ (ตอก 2 โค้ด)
                แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์

แบบที่ 7. เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน (ไม่ฝังชนวนพระแก้ว) เนื้อเทา
                (ตอก 2 โค้ด) กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์

แบบที่ 8. ปิดตาเคลือบเหลืองอมน้ำตาล (ตอก 2 โค้ด) เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อเดียวกับพระบูชายืนรุ่น
                ไตรมาสรวยทันใจ ขนาด 12 นิ้ว และ 19 นิ้ว ผิวเคลือบจะละเอียดขึ้นเงา และสีจะเข้มกว่า
                พระปิดตาทาทอง จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์

แบบที่ 9. ปิดตาเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อน้ำตาลแดง (ตอก 1 โค้ด) แม่เหล็กดูดติด เป็นเนื้อชนิดเดียวกับ
                เนื้อพระบูชายืนเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ รุ่นไตรมาสรวยทันใจ ขนาดสูง 12 นิ้ว และ 19 นิ้ว ที่หลวงปู่
                เสกจนพระเคลื่อนไหวเองได้ สร้างจำนวนน้อย มากหลักสิบองค์เท่านั้น เพราะสร้างจากเนื้อที่
                เหลือจาก การสร้างพระบูชายืนซึ่งเหลือผงอยู่อย่างจำกัดมาก โดยให้สิทธิ์เช่าบูชาเป็นพิเศษ
                เฉพาะผู้ที่สั่งจองพระบูชายืน ขนาดสูง 19 นิ้ว คนละเพียง 1 องค์เท่านั้น 
                            พระปิดตาเนื้อนี้ จะมีความสวยงามคมชัดมากทุกองค์ เพราะทำการกดอัด พิมพ์แน่น
                เป็นพิเศษและใช้ผงเหล็กน้ำพี้ของพระบูชายืน ซึ่งเป็นเนื้อมวลสารละเอียดล้วนๆ โดยที่หลวงปู่
                มิได้นำมวลสารอื่นใดมาผสมรวมเพิ่มเติมแม้แต่น้อย ผิวเนื้อและสีสันวรรณะของพระปิดตาเนื้อ
                นี้ จึงเป็นแบบเดียวกับพระบูชายืนทุกประการ

แบบที่ 10. ปิดตาเนื้อผงใบลาน สีเทาอ่อนอมดำ (ตอก 1 โค้ด) จำนวนสร้าง 60 องค์
                  ลักษณะจะคล้ายคลึงกับแบบที่ 11 (เนื้อผงเหล็กน้ำพี้) มาก เพราะเป็นพระเนื้อสีเทา (ตอก 1)
                 โค้ดเหมือนกัน แต่เนื้อผงใบลานสีจะเข้มกว่า เนื้อจะละเอียดหนึกแน่นกว่า น้ำหนักมากกว่า
                  และแม่เหล็กดูดไม่ติด

แบบที่ 11. เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อเทา (ตอก 1 โค้ด) แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้าง 70 องค์

แบบที่ 12. เนื้อข้าวเหนียวดำ เนื้อน้ำตาลอ่อนอมเทา (ตอก 1 โค้ด) ส่วนผสมมวลสารหลัก ได้แก่ ข้าว
                  เหนียวดำ ผงแร่ ข้าวก้นบาตรหลวงปู่หมุน และยังมีผงกสิณไฟหลวงปู่สรวง ผงว่าน
                  ผงพุทธคุณ108 ผงชานหมากหลวงปู่หมุนรวมอยู่ด้วย จำนวนสร้าง 200 องค์ 
               
แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

แบบที่ 12.1 เนื้อข้าวเหนียวดำ ( ฝังพลอย) ฝังพลอยเม็ดใหญ่ 3 เม็ด ที่ฝ่ามือ 1 เม็ด และที่หัวไหล่ทั้งสอง
                   ข้าง อีกข้างละ 1 เม็ด ในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่ครบ 3 เม็ด และไม่ได้ฝังพลอยใน
                   จุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้น จำนวนสร้างหลักสิบองค์ ที่เหลือเป็นแบบไม่ฝังพลอยร้อยกว่า                        องค์

แบบที่ 12.2 เนื้อข้าวเหนียวดำ (ไม่ฝังพลอย) จำนวนสร้าง 100 กว่าองค์ (ไม่ถึง 200 องค์)

แบบที่ 13. ปิดตาทาทอง เนื้อผงดินเก่าเผา ผสมอิฐหัก ทรายลังกาวี จีวร เศษหมวกไหมพรมเศษไม้เท้า
                  เศษเกศาหลวงปู่ ทาทองแล้วเคลือบ มีทั้ง(ตอก 1 โค้ดและ 2 โค้ด) องค์พระจะมีน้ำหนัก
                  มากกว่าทุกแบบ เพราะมวลสารส่วนใหญ่เป็นดินเก่าและอิฐหักเผา ที่รูเสียบเหล็กเผาไฟใน
                  ฐานพระ จะมีรอยไหม้สีดำโดยรอบ จำนวนสร้าง 300 องค์

แบบที่ 14. เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ ฝังชนวนพระแก้วมรกต เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง) (ตอก 2 โค้ด)
                  ฝังเม็ดชนวนพระแก้วเม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้าและตลอดแนวยันต์ด้านหลัง
                  จำนวนสร้าง 300 องค์ 

แบบที่ 15. เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ (ไม่ฝังชนวนพระแก้วมรกต) เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง)
                  (ตอก 2 โค้ด) จำนวนสร้าง 1,000 องค์

แบบที่ 16. เนื้อผงงาช้าง (ตอก 1 โค้ด และตอกหมายเลขประจำองค์พระ) เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง)
                  จำนวนสร้าง 1,999 องค์

แบบเนื้อพิเศษ เนื้อนำฤกษ์ กดพิมพ์ที่วัดป่าหนองหล่ม ก่อนวันพิธีพุทธาภิเศก เป็นการเบิกฤกษ์เปิดพิธี
                          เนื้อขาวเทาอมฟ้า (สีอ่อนสว่าง) เนื้อมวล สารจะพิเศษกว่าเนื้ออื่นตรงที่ใส่เส้นเกศาและ
                          ชานหมากของหลวงปู่หนาแน่นมาก บางองค์เส้นเกศาและชานหมากโผล่พ้นผิวพระ
                          ออกมาโดยรอบจำนวนมาก (คนในพื้นที่จะเรียกว่า เนื้อเงาะป่า) ทุกองค์จะฝังตะกรุด
                          ทองแดง มีตั้งแต่ฝัง 1 ดอกไปจนถึง 7 ดอก ปิดทองนำฤกษ์ ที่พิมพ์ก่อนกดพิมพ์ทุกองค์
                          ผิวเนื้อทองจึงติดลึกแน่นตามซอกองค์พระ เห็นชัด บ้างไม่ชัดบ้างแต่ต้องมีทุกองค์
                          จำนวนสร้าง 59 องค์ 
แบ่งเป็น 2 แบบคือ

(1) แบบเนื้อนำฤกษ์ (ตอก 1 โค้ด) จำนวนสร้าง 21 องค์

(2) แบบเนื้อนำฤกษ์ (ปั๊มหมึกแดงตราวัด) สร้าง 38 องค์
                        แบบนี้ไม่ตอกโค้ด แต่จะปั๊มตราวัดที่ใต้ฐานพระด้วยหมึกสีแดง คำว่า วัดป่าหนองหล่ม
                        แทนการตอกโค้ด 

No comments:

Post a Comment